เที่ยวญี่ปุ่น 2 : พิพิธภัณฑ์บะหมี่ถ้วย CUPNOODLES Museum ที่โยโกฮาม่า

CUPNOODLES Museum

เป้าหมายในการมาโยโกฮาม่าของผมอีกอย่างก็คือ การไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เพื่อนยามยากของผมและใครหลาย ๆ คนในช่วงปลายเดือน มันคือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนั้นเองครับ

CUPNOODLES Museum

CUPNOODLES Museum เป็นพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับบะหมีกึ่งสำเร็จรูปของ Nissin การเดินทางไม่ยาก เพียงเดินจากสถานี Minato Mirai ประมาณ 5 นาทีเท่านั้นเอง

CUPNOODLES Museum

ตอนไปเจอถ้วยบะหมี่ทำจากกระดาษ ดูสวยงามทีเดียว

CUPNOODLES Museum

สำหรับค่าเข้าชมนั้น ของผู้ใหญ่จะอยู่ที่ 500 เยน แต่ถ้าต้องการจะทำ My CUPNOODLES หรือไปเรียนทำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ก็ต้องเสียเงินต่างหาก

เนื่องจากภายในพิพิธภัณฑ์จะเป็นภาษาญี่ปุ่น รวมถึงเจ้าหน้าที่ของที่นี้ก็ไม่ชำนาญภาษาญี่ปุ่นด้วย ที่นี้จึงมีเครื่อง Audio guide ของ Victor (หรือทีบ้านเรารู้จักกันในชื่อ JVC) ให้ยืมด้วย โดยมัดจำที่เคาท์เตอร์ 2,000 เยน

Hiyoko-chan at CUPNOODLES Museum

ตุ๊กตา Hiyoko-chan มาสค็อตของ Chicken Ramen สินค้าตัวแรกของ Nissin และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตัวแรกของโลก

CUPNOODLES Museum

ส่วนของนิทรรศการจะเริ่มต้นที่ชั้น 2  ที่ห้อง Instant Noodles History Cube ซึ่งจะเป็นห้องที่จัดแสดงหน้าตาของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของ Nissin ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีบะหมี่ของ Nissin ที่วางขายนอกประเทศญี่ปุ่น และบะหมี่ยี่ห้ออื่น ๆ จากต่างประเทศอื่นด้วย

ส่วนที่ 2 คือ Momofuku Theater ชมวิดีโอประวัติความเป็นมาในการทำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของ Momofuku Ando ผู้ประดิษฐ์และผู้ก่อตั้ง Nissin ตัววิดีโอจะเป็นภาษาญี่ปุ่นทั้งหมด แต่มี Audio guide ภาษาอังกฤษให้ยืมหน้าห้องเหมือนกัน (เป็นคนละตัวกับที่ได้จากเคาท์เตอร์ชั้น 1)

CUPNOODLES Museum

จบจากการดูวิดีโอ และคืน Audio guide ของห้องวิดีโอแล้ว จะเจอกระท่อมที่อันโดซังใช้ประดิษฐ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งแกก็ลองผิดลองถูกอยู่หลายวิธี จนพบว่าใช้วิธีการทอดเส้นในน้ำมันจนแห้งนี้เวิร์คที่สุด กลายมาเป็น Chicken Ramen หรือภาษาญี่ปุ่น Chikin Ramen ครับ

CUPNOODLES Museum

ห้องถัดไปจะเป็นส่วนนิทรรศการประวัติของ Momofuku Ando ซึ่งนอกเหนือจากประวัติของผู้ก่อตั้งและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแล้ว สิ่งที่ CUPNOODLES Museum ต้องการเน้นให้กับผู้เข้าชมคือเรื่องของไอเดียหรือความคิดสร้างสรรค์นั่นเอง

CUPNOODLES Museum

อย่างในห้องแรก จะมีสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ อยู่บนผนัง เมื่อเราเดินเข้าไปใกล้ ๆ ก็จะมีภาพเคลื่อนไหวฉายขึ้นมาว่า คนคิดค้นจินตนาการหรือมีไอเดียอะไร ถึงประดิษฐ์ของเหล่านี้ออกมา ตรงนี้สื่อถึงแนวความคิดที่ว่า ต้องค้นพบสิ่งที่ใหม่จริง ๆ ไม่เคยมีที่ไหนมาก่อน และการที่มีมันจะต้องช่วยให้ชีวิตเราดีขึ้น

CUPNOODLES Museum

ห้องถัดไป จะเข้าสู่ตัวประวัติจริง ๆ ล่ะ ประวัติต่าง ๆ ของอันโดซังก็จะถูกพิมพ์ไว้บนผนังพร้อมหมายเลขหัวข้อ เพื่อให้เราสามารถกดฟังจาก Audio guide ได้

CUPNOODLES Museum

ในประวัติแต่ละช่วงจะมีรูปกล่องพร้อมตัวเลขระบุไว้ มันคือ Creative Thinking Box ซึ่งเป็นการบอกถึงไอเดียและวิธีคิดของอันโดซัง

CUPNOODLES Museum

เช่น โมเดลป่าที่มีไฟส่องเลื่อนไปมา สื่อถึงป่าที่มีต้นไม้ขึ้นแน่นนั้นแข็งแรงกว่าต้นไม้เพียงต้นเดียว วิธีคิดนี้ถูกนำไปใช้ในการรวบรวมเหล่าผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเข้าด้วยกันเป็นสมาคม เพื่อที่จะได้แชร์ข้อมูลต่าง ๆ ทำให้อุตสาหกรรมและคุณภาพของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปดีขึ้น หนึ่งในผลงานนี้คือการกำหนดวันหมดอายุไว้บนซองอาหารครับ

CUPNOODLES Museum

ส่วนถ้วย Cup Noodles นี้สื่อถึงการมองสิ่งของในหลาย ๆ มุม เกิดจากปัญหาในการใส่เส้นลงในถ้วย Cup Noodles ซึ่งอันโดซังก็แก้ปัญหาโดยการ เอาถ้วยคว่ำใส่ก้อนบะหมี่ก่อน แล้วค่อยพลิกถ้วยกลับมาตั้งเหมือนเดิม

CUPNOODLES Museum

ห้องที่มีพื้นเอียง ซึ่งเมื่อมองจากกระจกนอกห้องเข้ามา คนที่ยืนตรงบริเวณถ้วยบะหมี่ทางขวาตัวจะดูสูงใหญ่ที่สุด ถึงแม้ว่าจริง ๆ จะตัวเล็กกว่าก็ตาม ตรงนี้สะท้อนความคิดที่ว่า ไม่ใช่เอาแต่ทำตามกระแสสังคมหรือธรรมเนียมปฏิบัติเพียงอย่างเดียว ต้องคิดพิจารณาถึงสิ่งนั้นด้วย

แนวความคิดนี้เกิดขึ้นตอนที่ทำ Cup Noodles เนื่องจากอันโดซังไปอเมริกาเพื่อขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แล้วพบว่าคนอเมริกาชงบะหมี่ใส่ถ้วยกินด้วยส้อม แกเลยได้ไอเดียการทำบะหมี่ถ้วยกลับมา แต่คนญี่ปุ่นเองนั้นถือว่าการกินแบบนี้เป็นเรื่องใหม่มาก เพราะปกติเขาไม่กินบะหมี่กันแบบนี้

พอตอนเปิดตัว Cup Noodles ที่ย่านกินซ่า Cup Noodles เลยกลายเป็นอาหารยอดฮิตป็อปปูล่า โค่นแชมป์ก่อนหน้าอย่างร้านแมคโดนัลที่มาเปิดสาขาแรกที่ย่านนี้เหมือนกัน

CUPNOODLES Museum

สุดท้าย เป็นแนวความคิดที่ผมว่าสำคัญที่สุด คืออย่ายอมแพ้ครับ เพราะอันโดซังเป็นคนที่ไม่ยอมแพ้ จึงทำให้สามารถประดิษฐ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่แพร่หลายจนถึงทุกวันนี้ได้ รวมทั้งยังประดิษฐ์ Space Ramen หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสำหรับทานบนอวกาศ

สำหรับเจ้า Space Ramen นั้นกลับไปใช้วิธีทอดเส้นเหมือนกับสมัยที่ทำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปครั้งแรก และปรับรสชาติให้จัดขึ้น 10 เท่า เพราะนักบินอวกาศเลือดจะขึ้นหัวเยอะ ทำให้รับรสชาดได้ไม่ดี

CUPNOODLES Museum

ส่วนสุดท้ายของชั้นนี้ จะเป็นรูปปั้นของอันโดซังยืนถือถ้วยบะหมี่ โดยมีประโยคเป้าหมายในแต่ละปีของเขาติดอยู่ที่ผนังข้าง ๆ

จบส่วนนิทรรศการทั้งหมดแล้ว ผมก็ขึ้นไปดูชั้นบนต่อ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *